เครื่องวัดค่าเกลือ Positest SST

เครื่องทดสอบค่าเกลือที่ละลายน้ำได้บนพื้นผิวโลหะ ก่อนการทำสี ตามมาตรฐาน ISO 8502-6, 8502-9

  1. หัววัดค่าการนำไฟฟ้าที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับ ISO 8502-6, 9
    1. แสดงระยะเวลาการทดสอบ
    2. อุณหภูมิขณะทดสอบ
    3. การนำไฟฟ้า (µS/cm) ของน้ำก่อนเทสและหลังเทส
    4. ค่าเกลือบนพื้นผิว (mg/m2 หรือ µg/cm2) คำนวนให้อัตโนมัติ
  2. ใช้งานง่ายด้วยขั้นตอนตามมารตฐาน โดยเครื่องจะแสดงขั้นตอน 1-2-3 เพื่อให้ง่ายต่อคนใช้งาน และไม่สับสน
  3. ใบเซอร์การสอบเทียบแสดงความสามารถในการตรวจวัด ตามมารตฐาน ISO 17025

สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

ISO 8502-6/8502-9, US Navy PPI 63101-000, US Navy NAVSEA NSI 009-32, AS 3894.6, IMO MSC.215(82), IMO MSC.244(83), SSPC Guide 15, ISO 11127-6, ASTM D4940

฿13,570.00฿52,890.00

คุณลักษณะเด่น

ใช้งานง่าย

  • หัววัดค่าการนำไฟฟ้าที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับ ISO 8502-6, 9
    1. แสดงระยะเวลาการทดสอบ
    2. อุณหภูมิขณะทดสอบ
    3. การนำไฟฟ้า (µS/cm) ของน้ำก่อนเทสและหลังเทส
    4. ค่าเกลือบนพื้นผิว (mg/m2 หรือ µg/cm2) คำนวนให้อัตโนมัติ
  • ใช้งานง่ายด้วยขั้นตอนตามมารตฐาน โดยเครื่องจะแสดงขั้นตอน 1-2-3 เพื่อให้ง่ายต่อคนใช้งาน และไม่สับสน

ทนทาน

  • ทนฝนและแดด กันฝุ่น และกันน้ำ—ตัวเครื่องได้รับการทดสอบระดับ IP65
  • ดีไซน์ตามหลักสรีรศาสตร์พร้อมด้ามจับยางทนทาน ทำให้จับได้กระชับมือ
  • ซองหุ้มยางป้องกันดูดซับแรงกระแทกเพื่อเพิ่มความทนทานต่อแรงกระแทก
  • รับประกันตัวเครื่องและโพรบนานถึง 2 ปี

แม่นยำ

  • หัววัดคุณภาพให้การอ่านที่รวดเร็วและแม่นยำ
  • อ่านค่าอุณหภูมิการทดสอบเพื่อให้ค่าการนำไฟฟ้าแม่นยำยิ่งขึ้น
  • ใบรับรองการสอบเทียบที่แสดงความสามารถในการวัด และสามารถตรวจสอบไปยัง NIST หรือ PTB ได้
  • ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ISO 8502-6/8502-9, US Navy NSI 009-32, US Navy PPI 63101-000, AS 3894.6, IMO MSC.215(82), IMO MSC.244(83), SSPC Guide 15, ISO 11127-6, ASTM D4940

อเนกประสงค์

  • สามารถบันทึกค่าการทดสอบตามมารตฐาน ISO 8502-6, 9
  • บันทึกภาพหน้าจอการวัดได้มากถึง 100 ภาพเพื่อบันทึกและตรวจสอบ
  • อายุการใช้งานถ่านยาวนานขึ้น 30%
  • พอร์ต USB เพื่อการเชื่อมต่อที่รวดเร็ว
  • รวมชุดซอฟต์แวร์ PosiSoft สำหรับการดูและรายงานข้อมูล
  • เครื่องสามารถอัปเดตซอฟต์แวร์ผ่านเว็บได้ ช่วยให้เครื่องใช้งานกับลูกเล่นใหม่ ๆ เมื่อมีการอัพเดท

หลากหลาย

  • ตัวเครื่อง PosiTector สามารถใช้ได้กับโพรบหลากหลาย PosiTector 200, 6000, DPM, IRT, RTR, SPG, SST, SHD, BHI และ UTG
  • สามารถใช้วัดค่าเกลือที่ปนเปื้อนอยู่ในทรายพ่น ตามมารตรฐาน ASTM D4940
  • ปรับเปลี่ยนปริมาณของน้ำที่ใช้ได้ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละมาตรฐาน
  • เลือกภาษาแสดงได้

การใช้งานเครื่องวัดค่าเกลือ Positector SST

ขั้นตอนที่ 1: วัดค่าการนำไฟฟ้าเริ่มต้นของน้ำกลั่น (Blank Test)

  1. เทน้ำปราศจากไอออน (น้ำ DI หรือน้ำกลั่น) ปริมาณอย่างน้อย 4 มล. ลงในถ้วยที่สะอาด
  2. ใช้กระบอกฉีดยาดูดน้ำจากถ้วย
  3. ให้เติมน้ำจากหลอดฉีดยาลงในหัววัดทดสอบแล้วกดปุ่มบวกเพื่อบันทึกค่าการนำไฟฟ้าของน้ำที่ยังไม่ได้ทดสอบ
  4. หลังจากเครื่องวัดเสร็จ ให้ดึงน้ำทั้งหมดดูดกลับเข้าไปในกระบอกฉีดยา
  5. พลิกกระบอกฉีดยาและไล่อากาศและน้ำส่วนเกินออกไปจนกว่าจะมีน้ำเหลืออยู่ในกระบอกฉีดยา 3 มล.

ขั้นตอนที่ 2: เตรียมสายสะลายเกลือบนพื้นผิว

  1. หากใช้ PosiPatch ให้เริ่มต้นด้วยการวางวงแหวนแม่เหล็กบนพื้นผิว แล้วฉีดน้ำเข้าไปในแผ่นโดยพอร์ตอากาศภายในแผ่นจะไล่อากาศออกเองโดยอัตโนมัติ
  2. หากใช้แผ่น Bresle DeFelsko Patch หรือ Latex Patch ให้เอาดึงแผ่นรองและโฟมตรงกลางออกจากแผ่น ระวังอย่าให้มือสัมผัสโดนแผ่น แล้วกดลงบนพื้นผิวให้แน่นและไล่อากาศภายในแผ่นออกให้มากที่สุด
  3. ใช้เข็มเจาะส่วนบนของแผ่นที่ขอบโฟม เพื่อให้ปลายเข็มเจาะเข้าไปตรงกลางของแผ่น ฉีดน้ำประมาณครึ่งหนึ่งลงในแผ่น จากนั้นนำปลายเข็มดูดอากาศออกจากแผ่น
  4. ถอดกระบอกฉีดยาออกจากแผ่นและไล่อากาศออกจากกระบอก จากนั้นฉีดน้ำที่เหลือลงในแผ่นจนหมด
  5. เมื่อฉีดน้ำเข้าไปแล้ว ให้กดปุ่มบวก “+” บนเครื่อง เพื่อเริ่มจับเวลา ใช้กระบอกฉีดยา ดึงและฉีดน้ำเข้าออกซ้ำๆ โดยมาตรฐาน ISO 8502-6 แนะนำให้ทำแบบนี้อย่างน้อย 4 ครั้ง ในส่วนของเวลาการทดสอบจะขึ้นกับข้อตกลง หรือส่วนมากจะแนะนำที่ 2 นาที

ขั้นตอนที่ 3: การอ่านค่าและบันทึก

  1. หลังจากได้เวลาที่ต้องการแล้ว ให้ใช้กระบอกฉีดยาดึงน้ำออกจากแผ่นทดสอบให้ได้มากที่สุด

  2. จากนั้นให้ฉีดน้ำเข้าไปในหัววัดทดสอบของเครื่อง PosiTector SST แล้วกดปุ่มบวก “+”

  3. ค่าการนำไฟฟ้าของน้ำกลั่นก่อนเทสจะถูกลบออกโดยอัตโนมัติ และผลการทดสอบ (ค่าการนำไฟฟ้าหลังเทส – ค่าการนำไฟฟ้าก่อนเทส) จะแสดงเป็นหน่วยของ µS/cm และเครื่องจะคำนวนค่าเกลือบนพื้นผิวตามมารตฐาน ISO 8502-9 ให้โดยอัตโนมัติในหน่วย mg/m2 หรือ µg/cm2 พร้อมกับเวลาทดสอบและอุณหภูมิที่ทำการทดสอบ (ตามรูปด้านล่าง) เพื่อความสะดวกสบายและป้องกันความผิดพลาดในการคำนวน

ขั้นตอนในการเลือกซื้อเครื่องวัดความหยาบ Positector RTR

1. เลือกตัวเครื่อง Gauge Body

Standard

  • หน่วยความจำ 1,000 การอ่านต่อหัววัด
  • มีโหมดสถิติ และระบบเตือนเมื่อค่าสูงหรือต่ำกว่ากำหนด
  • เชื่อมต่อ โอนถ่ายข้อมูลด้วยระบบ USB

Advance

  • หน่วยความจำ 250,000 การอ่าน และ 1,000 ชุดการอ่าน
  • มีโหมดสถิติ และระบบเตือนเมื่อค่าสูงหรือต่ำกว่ากำหนด
  • เชื่อมต่อ โอนถ่ายข้อมูลด้วยระบบ USB, Wifi และ Bluetooth

2. เลือกชุดหัววัดให้เหมาะสมสำหรับงาน

หัววัดความค่าเกลือ

อุปกรณ์ที่ได้

หัววัดค่าเกลือ

หัววัดความค่าเกลือ

อุปกรณ์ที่ได้

หัววัดค่าเกลือ

หัววัดความค่าเกลือ

อุปกรณ์ที่ได้

หัววัดค่าเกลือ

หัววัดความค่าเกลือ

อุปกรณ์ที่ได้

หัววัดค่าเกลือ

หัววัดความค่าเกลือ

อุปกรณ์ที่ได้

หัววัดค่าเกลือ

ตัวเลือกแผ่นทดสอบ

PosiPatch

แผ่นทดสอบ Bresle แบบใช้ซ้ำได้พร้อมวงแหวนแม่เหล็กแบบมาตรฐาน ช่วยประหยัดเวลาและเงิน

สำหรับการวัดการปนเปื้อนเกลือตามมาตรฐาน ISO 8502-6,9

วงแหวนแม่เหล็กยึดติดกับเหล็กไม่มีสารตกค้างในการทำความสะอาด

– วงแหวนแม่เหล็กมาตรฐานสำหรับพื้นผิวเรียบและเส้นผ่านศูนย์กลาง > 1 ม. (40 นิ้ว)

แผ่นสามารถไล่อากาศอัตโนมัติผ่านเมมเบรนอากาศรอบ ๆ 

ไม่ต้องใช้เข็มในการฉีด ไม่มีคม

* มีใบเซอร์รับรองค่าการนำไฟฟ้าของแผ่น

PosiPatch Flexible

59b6a7930499c200014a0f82_flex-ring-pipe

แผ่นทดสอบ Bresle แบบใช้ซ้ำได้พร้อมวงแหวนแม่เหล็กแบบมาตรฐาน ช่วยประหยัดเวลาและเงิน

สำหรับการวัดการปนเปื้อนเกลือตามมาตรฐาน ISO 8502-6,9

วงแหวนแม่เหล็กยึดติดกับเหล็กไม่มีสารตกค้างในการทำความสะอาด

– วงแหวนแม่เหล็กแบบยืดหยุ่นสำหรับเส้นผ่านศูนย์กลาง ID/OD > 10 ซม. (4 นิ้ว)

แผ่นสามารถไล่อากาศอัตโนมัติผ่านเมมเบรนอากาศรอบ ๆ 

ไม่ต้องใช้เข็มในการฉีด ไม่มีคม

* มีใบเซอร์รับรองค่าการนำไฟฟ้าของแผ่น

DeFelsko Patch

สำหรับวัดการปนเปื้อนเกลือตามมาตรฐาน ISO 8502-6,9

กาวพิเศษเพื่อการลอกแผ่นปะออกได้ง่ายโดยไม่ทิ้งคราบให้ทำความสะอาด

ใช้งานได้กับวัสดุหรือรูปทรงเกือบทุกชนิด

ปราศจากยาง

ราคาต่ำกว่าแผ่นลาเท็กซ์

* มีใบเซอร์รับรองค่าการนำไฟฟ้าของแผ่น

Latex Patch

สำหรับวัดการปนเปื้อนเกลือตามมาตรฐาน ISO 8502-6,9

กาวพิเศษเพื่อการลอกแผ่นปะออกได้ง่ายโดยไม่ทิ้งคราบให้ทำความสะอาด

ใช้งานได้กับวัสดุหรือรูปทรงเกือบทุกชนิด

* มีใบเซอร์รับรองค่าการนำไฟฟ้าของแผ่น

ช่วงการวัดและความแม่นยำ

อุปกรณ์เสริม

PosiPatch
59b6a7930499c200014a0f82_flex-ring-pipe
PosiPatch
Flexible
DeFelsko Patch
Latex Patch
5a44088e80557a0001791856_conductivity-standard
สารละสายทดสอบค่าการนำไฟฟ้า
ชุดแผ่น PosiPatch

บทความที่เกี่ยวข้องกับเครื่องวัดค่าเกลือ

การวัดค่าเกลือ (Salt Contamination Testing)

      โดยปกติแล้วก่อนการทำสีจะต้องเตรียมและทำความสะอาดพื้นผิวเหล็กเพื่อให้แน่ใจว่าสีหรือระบบงานเคลือบทำงานได้อย่างประสิทธิภาพที่สุด รวมถึงหลีกเลี่ยงการหลุดร่อนหรือเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควร โดยทั่วไปแล้วจะใช้การทำความสะอาดพื้นผิวด้วยการพ่นทรายเพื่อขจัดคราบสนิม สีเก่า รวมถึงสิ่งสกปรกอื่น ๆ ที่มีอยู่ออกจากผิวเหล็ก เมื่อทำความสะอาดเสร็จก็จะได้พื้นผิวเหล็กที่ดูสะอาดขึ้น แต่พื้นผิวเหล็กเหล่านี้ยังมีความเสี่ยงที่จะปนเปื้อนด้วยเกลือที่ละลายน้ำได้อยู่ (Soluble Salt) ซึ่งเกลือบนพื้นผิวเกิดขึ้นตามธรรมชาติจากสภาพแวดล้อมรอบข้าง เช่น น้ำฝน การขนส่ง สถานที่จัดเก็บ เป็นต้น 

        เกลือที่ละลายน้ำไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและไม่สามารถกำจัดออกจากพื้นผิวด้วยการพ่นทราย หากปล่อยให้อยู่บนพื้นผิวในปริมาณที่มากเพียงพอ เกลือที่หลงเหลืออยู่บนพื้นผิวจะสามารถดึงความชื้นผ่านฟิล์มสีได้ ทำให้ระบบสีจะเสื่อมหรือเสียหายก่อนเวลาเนื่องมาจากเกิดการพองตัวของสีหรือเกิดสนิมใต้ฟิล์มสี และในบางกรณีที่วัสดุพ่น (Abrasive) ก็มีการปนเปื้อนของเกลือที่ละลายน้ำได้ (เช่น เกลือคลอไรด์ หรือซัลเฟต) เกลือที่อยู่บนวัสดุพ่นเหล่านี้ก็จะปนเปื้อนไปยังไปยังพื้นผิวเหล็กในระหว่างการพ่นทรายและในที่สุดก็เกิดการเสียให้ได้เช่นกัน

        ด้วยเหตุข้างต้น ทำให้งานทำสีที่มีมาตรฐานส่วนใหญ่ มีความจำเป็นต้องมีการตรวจสอบค่าเกลือในวัสดุพ่น (Abrasive) ก่อนการพ่น และตรวจสอบค่าเกลือบนพื้นผิวหลังการพ่นทรายก่อนทำสี เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดได้ในอนาคต หากพบว่าค่าเกลือเกินมาตรฐานที่กำหนดไว้ จะต้องมีการกำจัดค่าเกลือด้วยวีธีต่าง ๆ เช่น การใช้น้ำสะอาดแรงดันสูง เป็นต้น

วิธี Bresle สำหรับการทดสอบการปนเปื้อนของเกลือที่ละลายน้ำได้บนพื้นผิว

        เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายของระบบสีอันเนื่องมาจากการปนเปื้อนของเกลือ สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่าปริมาณของเกลือที่ละลายได้หลงเหลืออยู่บนพื้นผิวที่ทำความสะอาดแล้วไม่เกินระดับของค่าที่ยอมรับได้ การทดสอบเกลือที่ละลายน้ำได้ทำได้โดยใช้วีธีตามมาตรฐาน ISO 8502-9 และส่วนหนึ่งของวิธีการนั้นคือการสกัดเกลือที่ละลายได้บนพื้นผิวเพื่อการวิเคราะห์โดยใช้วิธีการตามมาตรฐาน ISO 8502-6 ซึ่งเป็นวิธี Bresle

        วิธี Bresle สุ่มตัวอย่างพื้นผิวโดยใช้ “การสกัดพื้นผิว หรือ Extraction” พูดง่ายๆ คือวิธีนี้จะใช้น้ำฉีดใส่ Bresle Patch ที่ติดอยู่บนพื้นผิวที่ต้องการวัด น้ำจะละลายเกลือที่ละลายน้ำได้บนผิว ทำให้ค่าการนำไฟฟ้าของน้ำเพิ่มขึ้น การเพิ่มขึ้นของค่าการนำไฟฟ้าที่วัดได้จะถูกแปลงค่าเป็นความเข้มข้นของเกลือที่ละลายน้ำได้บนพื้นผิว 

        ซึ่งไม่มี “มาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ Standard” ไหนระบุระดับการปนเปื้อนของเกลือบนพื้นผิวที่ยอมรับได้เอาไว้ ดังนั้นสเปคของโครงการจึงจำเป็นต้องระบุปริมาณสูงสุดของค่าเกลือที่สามารถอยู่บนพื้นผิวได้ เช่น Soluble salt less than 30 microgram per cm2 เป็นต้น

วิดีโอแนะนำการใช้งานเครื่องวัดค่าเกลือ

การใช้งานเบื้องต้นเครื่องวัดความหนาสี Positector 6000